วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เพลงประจำอาเซียน

เพลงประจำอาเซียน 

The ASEAN Way
เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.

คำแปล
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า
โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน

 เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล

หมายเหตุ: คำแปลภาษาไทยในที่นี้ไม่ใช่คำแปลอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลของเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)

ความเป็นมา

1. จุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการหารือในที่ประชุม อาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ (ชื่อทางการคือคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรม และสนเทศ) ครั้งที่ 29 ในเดือนมิถุนายน ปี 2537 ซึ่งในครั้งนั้นที่ประชุม มีความเห็นตรงกันว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจำอาเซียน โดยกำหนดจะให้เปิดเพลงประจำอาเซียนในช่วงของการจัด กิจกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ทั้งนี้ในเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินที่ประชุมตกลง ให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการเพื่อคัด เลือกเพลงประจำ อาเซียน

2. ต่อมาในการประชุม ครั้งที่ 32 ของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศในเดือน พฤษภาคม ปี 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกเพลงใน รอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และเพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ อย่างไรก็ดี เพลงดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากใช้เปิดเฉพาะในการ ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

3. ด้วยเหตุนี้ทำให้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซีย และที่สิงคโปร์ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพ การประชุมจึงได้แต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง “ASEAN Our Way” และสิงคโปร์แต่งเพลง "Rise"

บทบาทของไทยกับการจัดทำเพลงประจำอาเซียน

4. การจัดทำเพลงประจำอาเซียนเป็นการดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียนโดย ข้อบทที่ 40 ระบุให้ อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียนโดยหากเป็นไปได้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการให้ สัตยาบันกฎบัตร อาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14

5. ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลง ประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition โดยให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น และจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน 2551 โดยเนื้อร้องต้องมีเกณฑ์ ดังนี้ คือ (1) เป็น ภาษาอังกฤษ (2) มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน (3) มีความยาวไม่เกิน 1 นาที (4) เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและ เชื้อชาติ (5) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 2 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ

6. ในส่วนของการคัดเลือกเพลงในประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการประชุมคณะกรรมการ ตัดสินเพื่อคัดเลือกเพลงภายในประเทศขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 โดยมีเพลงจำนวน11เพลง ที่ผ่านเกณฑ์ และประเทศไทยได้ส่งเพลงดังกล่าวเข้าร่วมการประกวดแข่งขันในระดับภูมิภาค อาเซียน

7. ในระดับภูมิภาคอาเซียน กรมอาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ในระดับภูมิภาค รอบแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ในส่วนของไทย ฯพณฯ องคมนตรี พล.ร.อ. อัศนี ปราโมช ได้ให้เกียรติรับเป็นกรรมการฝ่ายไทยโดยทำหน้าที่ประธานการประชุมคัด เลือกเพลงและได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลง จากที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 99 เพลง รอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนเดิม และจากนอก อาเซียนอีก 3 คน ได้แก่จากญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลียร่วมตัดสินด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็น เอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและ เรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลง ประจำอาเซียน

8. กรมอาเซียนได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเปิดตัวเพลงประจำอาเซียนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงละครอักษรา โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงเพลง ASEAN Anthem และเพลงยอดนิยม จากประเทศสมาชิกอาเซียน ในส่วนของไทยได้บรรเลงเพลง “ลาวดวงเดือน” โดยได้มีแขกผู้มี เกียรติจากส่วนราชการต่างๆ คณะทูต ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน กว่า 500 คน มาร่วมงาน ทั้งนี้ เพลงประจำอาเซียนจะใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่หัวหิน

ความสำคัญของเพลงประจำอาเซียน

9. การมีเพลงอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก นับจากนี้ไปอาเซียนจะมีเพลงประจำอาเซียนซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างอัต ลักษณ์ของอาเซียนในการเชื่อมโยง อาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ การได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็น เจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันครั้งนี้ รวมทั้งการที่เพลงจากไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงประจำ อาเซียน ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศและแสดงถึงความสามารถของคนไทยด้วย


การประกวดเพลงประจำอาเซียนในปี พ.ศ. 2551

เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนบท ที่ 40 ซึ่งระบุให้อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้ ดำเนินการจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition ทั้งนี้ อาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติ เบื้องต้นและจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ดำเนินการเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียนระดับภูมิภาคในรอบแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการประกวดได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลงให้เข้ารอบสุดท้าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 99 เพลง และได้ดำเนินการประกวดรอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยคณะผู้ตัดสินประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนในรอบแรก และจากประเทศนอกอาเซียนอีก 3 คน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีนและประเทศออสเตรเลีย โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง "The ASEAN Way" (ดิอาเซียนเวย์) ของประเทศไทย ซึ่งประพันธ์โดยกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) สำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน

เพลงดิอาเซียนเวย์ได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ณ โรงละครอักษรา โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือของกองทัพเรือไทยเป็นผู้บรรเลงเพลง และได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

หลักเกณฑ์การประกวดเพลงประจำอาเซียน

หลักเกณฑ์การประกวดเพลงประจำอาเซียนมีดังนี้
  1. เป็นภาษาอังกฤษ
  2. มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน
  3. มีความยาวไม่เกิน 1 นาที
  4. เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ
  5. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่
ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศการประกวดจะได้รับเงินรางวัล 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ

คณะกรรมการผู้ตัดสิน

คณะกรรมการจากประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ
คณะกรรมการจากประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกอาเซียน
(ข้อมูลจาก: osmie4.moe.go.th)

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การ์ตูนท่องโลกอาเซียน (ASEAN Discovery)



การ์ตูน“ท่องโลกอาเซียน”จัดทำโดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้น แก่เยาวชนเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้นำเสนอผ่านตัวละครที่ เป็นมนุษย์ต่างดาวที่ชื่อ“บลู”กับเพื่อนๆ ของเขาอีก 10 คน ซึ่งเสมือนเป็นตัวแทนของประเทศสมาชิก อาเซียนทั้งสิบประเทศ

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งประเทศไทยที่มีหน้าที่รับผิด ชอบเกี่ยวกับงานอาเซียนของประเทศไทย เห็นว่ากฏบัตรอาเซียนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพ ของประชาคมอาเซียน ซึ่งให้ความสำคัญแก่ภาคประชาสังคมในกระบวนการกำหนดนโยบาย ดังนั้น การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนจึงมี ความสำคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของ ภูมิภาค และยังเป็นพลังสำคัญต่ออนาคตของอาเซียน

ในโอกาสที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม s2551เป็นต้นมา รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศได้จัดกิจกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนัก ในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับอาเซียน และเพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การกำหนดนโยบายและทิศทางของประเทศ กิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย โครงการยุวทูตความดีกับ อาเซียน การแข่งขันเรียงความภาษาไทยเกี่ยวกับอาเซียน การแข่งขันทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ตลอดจนการจัดสัมมนาเชิงวิชาการและการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์อาเซียน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การ์ตูนท่องโลกอาเซียนนอกจากจะให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ยังไม่มีโอกาสที่จะ สร้างความคุ้นเคยกับอาเซียน ยังจะสร้างความสนุกสนานและรอยยิ้มให้แก่ผู้ที่มีจิตใจรักการ์ตูนทุกคนอีกด้วย


วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัญลักษณ์อาเซียน

asean-symbol
        รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
  • สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
  • สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง

จุดแข็ง-อ่อน ของประเทศต่างๆใน AEC


 1.ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ
• แรงงานมีทักษะสูง
• ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
• มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
• พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า
 2.ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง
• ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
• มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
• ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
จุดอ่อน
• ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว
• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก
 3.ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร
• แรงงานมีทักษะ
จุดอ่อน
• จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563
• ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย
• มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง
 4.ประเทศบรูไน
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
• การเมืองค่อนข้างมั่นคง
• เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน
• ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
• ขาดแคลนแรงงาน
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
• การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก
• ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก
 5.ประเทศฟิลิปปินส์
จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)
• แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้
จุดอ่อน
• ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน
• ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ประเด็นที่น่าสนใจ
• สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ
• การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก
 6.ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน)
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว
 7.ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ
• ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (1.6 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง
• ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้
 8.ประเทศลาว
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่
 9.ประเทศพม่า
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก
• มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ
 10.ประเทศไทย
จุดแข็ง
• เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก
• ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
• สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง
• ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
• แรงงานจำนวนมาก
จุดอ่อน
• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว
• ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง
 

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน





เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน

            จาก สนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้



  1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
  2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
  3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
  4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
  5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
  6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ



(ข้อมูลจาก : th.wikipedia.org)

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 1


ASEAN (อาเซียน)
Association of Southeast Asian Nations
       ASEAN (อาเซียน)  หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
           1. กัมพูชา                                                2. ไทย
           3. บรูไนดารุสซาลาม                            4. พม่า
           5. ฟิลิปปินส์                                      6. มาเลเซีย
           7. ลาว                                            8. สิงคโปร์
           9. เวียดนาม                                    10. อินโดนีเซีย